วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คติและมารยาทในการทานส้มตำ

ตคิและมารยาทในการทานส้มตำ


  • หลังการตำเสร็จแม่ค้ามักตักเส้นส้มตำแต่พอน้อยให้ผู้ซื้อชิม หากรสชาติไม่หนักพอจะปรุงเพิ่มอีกรอบ
  • การปรุงเพิ่มจะปรุงในครกเท่านั้น ไม่ปรุงบนจานหรือในถุง หากปรุงในจานหรือถุงมักถูกตำหนิว่า "ขะลำ" คือกระทำผิดธรรมเนียมโบราณ หรือทำ "ผิดสูตร"
  • คนรับประทานส้มตำใส่ปลาร้าดิบหรือปลาร้าเป็นตัวมักถูกมองว่าเป็นคนบ้านนอก คนในเมืองมักรับประทานปลาร้ากรองต้มสุกปรุงด้วยน้ำตาล แป้งนัว น้ำกระเทียมดอง และใบหมากเขียบ (ใบน้อยหน่า)
  • การชิมน้ำส้มตำจากทัพพีถือว่าเป็นกิริยาน่าเกลียด ต้องชิมจากช้อนต่างหาก
  • การชิมเส้นส้มตำจากทัพพีต้องใช้มือจับหากชิมโดยตรงจากทัพพีถือว่าเป็นกิริยาที่น่าเกลียดมาก
  • น้ำปลาร้าที่มีสีดำและส่งกลิ่นรุนแรงมากๆ มักถูกนำมาเปรียบเทียบกับ "อุจจาระ" หรือ "ขี้"
  • การรับประทานส้มตำห้ามรับประทานในครก ห้ามเลียสาก ห้ามทานซ้อนช้อน ห้ามทานซ้อนจาน ห้ามทานใส่ถ้วย และห้ามทานซ้อนถาด
  • คนทานส้มตำรสหวานมักถูกมองว่าเป็นเด็ก
  • คนทานส้มตำรสเผ็ดมักถูกมองว่าเป็นไปตามธรรมเนียมนิยมของคอส้มตำ
  • คนทานส้มตำกับข้าวสวยมักถูกแซวจากคนรอบข้าง แต่ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง
  • การใช้ข้าวเหนียวจ้ำในน้ำส้มตำรับประทานบ่อยๆ แปลว่าส้มตำนั้น "แซบหลาย" หรืออร่อยมาก
  • การใช้ช้อนซดน้ำส้มตำมักถูกมองว่า "ซดน้ำแป้งนัว" หมายถึงการรับประทานน้ำของผงชูรส"
  • ส้มตำที่ทิ้งไว้ไม่นานจากการรับประทานครั้งแรกเรียกว่า "เงื่อน" จะทำให้มีรสชาติให้น่ารับประทาน เรียกว่า "โอ่"
  • แม่ค้าที่ปรุงส้มตำใม่ถูกใจลูกค้ามากเกิน ๓ ครั้ง ถือว่า "มืออ่อน" สมควรเปลี่ยนอาชีพใหม่
  • หากตำส้มตำเบาเกินไปจนสากหลุดมือหรือทัพพีหลุดมือ เรียกว่า "ตีนอ่อนมือแพน" หาสามีได้ยาก
  • การตำพริกกระเทียมต้องตำพอบุบ หากตำละเอียดเกินไปมักถูกคนในบ้านไล่ให้ไปตำแจ่ว (ตำน้ำพริก) จะดีกว่า
  • ในชนบทของอีสานและลาวถือว่าร้านค้าส้มตำประจำหมู่บ้านเป็นศูนย์รวมทางวัฒนธรรมการกินอย่างหนึ่ง
  • ในงานเลี้ยงสังสรรค์และงานมงคลต่างๆ ของชาวอีสาน ทั้งในหรือนอกสถานที่หากขาดส้มตำไปจะถือว่า "ไม่ครบสูตร" หรือผิดธรรมเนียมนิยม
  • ชาวอีสานหรือชาวลาวที่ไม่รับประทานส้มตำมักถูกมองจากสังคมด้วยสำนวนว่า "ดัดจริตหีบิดหีเบี้ยว" หรือ "กระแดะ" และมักถูกตำหนิอย่างรุนแรงว่าเป็นพวก "ลาวลืมชาติ"
  • การรับประทานส้มตำที่เผ็ดเกินไป มักนิยมรับประทานเกลือมากกว่าน้ำตาลเพื่อแก้เผ็ด
  • ส้มตำสามารถรับประทานได้ทั้งมือเปล่า บ่วง (ช้อนกลาง) และช้อนส้อม แต่ไม่นิยมตะเกียบ
  • การรับประทานส้มตำนั้นห้าม "ควัดหาต่อน" หรือ "เขี่ยหาต่อน" เพราะถือเป็นกิริยาน่ารังเกียจ
  • การรับประทานส้มตำกับก๊วยเตี๋ยวหรือเกาเหลาเป็นที่นิยมอย่างหนึ่งในชาวลาวและอีสาน
  • คำว่า ตำหมากหุ่ง มักถูกนำมาใช้เปลี่ยนเป็นสำนวนใหม่ว่า "ตำตีน" สำหรับเสียดสีคนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ คนเช่นนั้นมักจะถูกถามเชิงเสียดสีว่า ทาน "ตำตีน" ไหม ?
  • ครกส้มตำมักถูกนำมาอุปมากับอวัยวะเพศหญิง สากส้มตำมักถูกนำมาอุปมากับอวัยวะเพศชาย
  • ร้านค้าส้มตำมักบูชาสากขนาดต่างๆ กัน และบูชาปลัดขิกขนาดใหญ่วางไว้หน้าร้าน พร้อมกับผูกผ้า ๗ สี ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลก
  • การตำส้มตำห้ามใช้ครกหินตำ ต้องใช้ครกไม้ตำเท่านั้น และครกไม้แต่ละชนิดเชื่อว่าจะให้รสชาติแก่ส้มตำที่ต่างกัน
  • ในสายตาคนทั่วไปมักมองว่า แม่ค้าส้มตำมักปากจัดและมีลีลาทางเพศที่เร่าร้อนกว่าสตรีธรรมดา
  • แม่ค้าส้มตำที่มีไฝหรือขี้แมลงวันเม็ดใหญ่บนใบหน้า แต่งหน้าจัดหรือทาปากสีแดงแจ่ม พร้อมทั้งใส่สร้อยทองเส้นใหญ่ มักถูกประเมินว่าเป็นแม่ค้าที่ตำส้มตำอร่อยและมีรสชาติจัดจ้าน
  • ในสายตาคนทั่วไปมักมองว่า เกย์หรือสาวประเภทสองนิยมประกอบอาชีพตำส้มตำมากกว่าชายแท้
  • แม้ค้าส้มตำที่ตำไปด้วยเต้นไปด้วย หรือตำไปด้วยหมุนสากหรือเหวี่ยงสากไปด้วย มักถูกมองว่า "ไม่ธรรมดา" ทั้งๆ ที่กิริยาเช่นนี้ใครๆ ก็ทำได้ เพียงแต่คนส่วนใหญ่ไม่นิยมทำ
  • เส้นมะละกอที่นำมาทำส้มตำมักถูกมองว่า "เส้นสับ" อร่อยและมีอรรถรสมากกว่า "เส้นขูด" เนื่องจากเส้นขูดมักไม่กรอบและมีเส้นยาวอ่อนปวกเปียกเคี้ยวไม่อร่อย
  • การทำเส้นมะละกอขูดมักถูกมองว่าเป็นคนขี้เกียจมักง่าย
  • คำว่า "นัว" เป็นคำที่นิยมใช้ในรสชาติของส้มตำ และคำว่า นัว ยังใช้กับรสชาติของปาแดก (ปลาร้า) และรสของแป้งนัว (ผงชูรส) ด้วย
  • การพูดจาดูถูก ปฏิเสธ รังเกียจ หรือการทำท่าทางปิดจมูกเวลาได้กลิ่นส้มตำถือเป็นอาการเสียมารยาทอย่างยิ่ง ไม่ควรกระทำต่อหน้าธารกำนันเด็ดขาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น