วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

งาน 5

https://www.flickr.com/creativecommons/by-2.0/
แสดงที่มา (Attribution: by) หมายถึง ต้องแสดงที่มาของชิ้นงานตามรูปแบบที่ผู้สร้างสรรค์หรือผู้อนุญาตกำหนด  (เผยแพร่ได้ โดยต้องระบุที่มา)

https://www.flickr.com/creativecommons/by-nc-nd-2.0/
๑) แสดงที่มา (Attribution: by) หมายถึง ต้องแสดงที่มาของชิ้นงานตามรูปแบบที่ผู้สร้างสรรค์หรือผู้อนุญาตกำหนด
๒) ไม่ใช้เพื่อการค้า (Noncommercial: nc) หมายถึง มิให้นำข้อมูลนี้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า
๓) ไม่ดัดแปลง (No Derivative Works: nd) หมายถึง ไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือสร้างงานของคุณจากงานนี้
by-nc-nd (เผยแพร่ได้ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลง และห้ามใช้เพื่อการค้า)

https://www.flickr.com/creativecommons/by-nd-2.0/
๑) แสดงที่มา (Attribution: by) หมายถึง ต้องแสดงที่มาของชิ้นงานตามรูปแบบที่ผู้สร้างสรรค์หรือผู้อนุญาตกำหนด
๒) ไม่ดัดแปลง (No Derivative Works: nd) หมายถึง ไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือสร้างงานของคุณจากงานนี้
 by-nc (เผยแพร่ได้ โดยต้องระบุที่มา และห้ามใช้เพื่อการค้า)


https://www.flickr.com/creativecommons/by-nc-2.0/
๑) แสดงที่มา (Attribution: by) หมายถึง ต้องแสดงที่มาของชิ้นงานตามรูปแบบที่ผู้สร้างสรรค์หรือผู้อนุญาตกำหนด
๒) ไม่ใช้เพื่อการค้า (Noncommercial: nc) หมายถึง มิให้นำข้อมูลนี้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า
by-nc (เผยแพร่ได้ โดยต้องระบุที่มา และห้ามใช้เพื่อการค้า)

https://www.flickr.com/creativecommons/by-sa-2.0/
๑) แสดงที่มา (Attribution: by) หมายถึง ต้องแสดงที่มาของชิ้นงานตามรูปแบบที่ผู้สร้างสรรค์หรือผู้อนุญาตกำหนด
อนุญาตแบบเดียวกัน (Share Alike: sa) ถ้าหากดัดแปลง เปลี่ยนรูป หรือต่อเติมชิ้นงานนี้ ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน หรือแบบที่เหมือนกับหรือที่เข้ากันได้กับสัญญาอนุญาตที่ใช้กับงานนี้เท่านั้น
by-sa (เผยแพร่ได้ โดยต้องระบุที่มา และใช้สัญญาอนุญาตเดียวกัน)


วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

บ้านเกิด

จังหวัดอุตรดิตถ์



จังหวัดอุตรดิตถ์  เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง ของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ เป็นดินแดนล้านนาตะวันออก ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ [5] ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด [6]
จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนบน โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด
ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท[7] โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาด
ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีสนามบิน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว
สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรล้านนา แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด




ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ออกแบบโดย พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) ในปี พ.ศ. 2483 ตามนโยบายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น พระพรหมพิจิตรได้สนองนโยบายที่ให้นำปูชนียวัตถุสถานสำคัญของจังหวัดมาผูกเป็นตรา ท่านจึงได้นำรูปมณฑปประดิษฐานพระแท่นศิลาอาสน์ โบราณสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ มาประกอบผูกเข้าไว้เป็นตราประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ตราที่ผูกขึ้นใหม่นี้เขียนลายเส้นโดย นายอุณห์ เศวตมาลย์ ไม่มีรูปครุฑ, นามจังหวัดและลายกนกประกอบ ต่อมาทางราชการจึงได้เพิ่มรายละเอียดทั้งสามเข้าไว้ในตราจังหวัด ซึ่งตรานี้ยังคงใช้มาจนปัจจุบัน

                                                           
เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก
 คำขวัญประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
คำขวัญประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แต่งขึ้นในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยนั้น ได้นำนโยบายนี้เข้าสู่ที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการและมีการคิดประกอบคำขวัญจังหวัดอุตรดิตถ์ขึ้นเป็นตัวอย่าง เพื่อมอบให้วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์กำหนดกรอบแนวคิดการประกวดคำขวัญประจำจังหวัดต่อไป อย่างไรก็ดีคำขวัญที่คิดในที่ประชุมส่วนราชการได้ถูกเผยแพร่อย่างกว้างขวางและเป็นที่รู้จักทั่วไป จึงไม่ได้มีการคิดประกวดคำขวัญใหม่ ทำให้คำขวัญดังกล่าวยังคงใช้เป็นคำขวัญประจำจังหวัดมาจนปัจจุบัน

ต้นไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์

ต้นสัก



ดอกไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์



ดอกประดู่ ดอกไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ในราวปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลเริ่มใช้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกได้มีโครงการ พัฒนาท้องถิ่นหลายรูปแบบส่วนใหญ่เน้นเรื่องเศรษฐกิจในชุมชนเป็นหลักเพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาส่วนหนึ่งจังหวัดจึงมีนโยบายให้หน่วยงานราชการ ทุกแห่งปลูกไม้ประดับและไม้ยืนต้นในพื้นที่ของส่วนราชการทุกแห่งและ เสนอแนะ ให้ ปลูกพันธุ์ไม้ ชื่อกัลปพฤกษ์ และพันธุ์ไม้ประดู่ แต่พันธุ์ไม้ที่ปลูกทั้ง 2มีเพียงดอกประดู่ที่บานสะพรั่ง ทางจังหวัดจึงตั้งให้ดอกประดู่เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์

เพลงประจำจังหวัด

เพลงประจำจังหวัดคือ "อุตรดิตถ์เมืองงาม"



สภาพภูมิศาสตร์



ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ใต้สุดของภาคเหนือ โดยมีพื้นที่ประมาณ 7,854 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับ 25 ของประเทศ มีจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกัน ดังนี้

ภูมิประเทศทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัดส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูง ทิวเขาเหล่านี้ต่อเนื่องมาจากจังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน



สถานที่สำคัญ


โบราณสถาน

พระอารามหลวง

พระพุทธรูปสำคัญในจังหวัดอุตรดิตถ์

เขื่อน

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน และสวนรุกขชาติ[24]
น้ำตก
  • น้ำตกสายทิพย์ (อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว)
  • น้ำตกภูสอยดาว (อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว)
  • น้ำตกคลองตรอน (อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่)
  • น้ำตกห้วยคอม (อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่)
  • น้ำตกห้วยทราย (อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่)
  • น้ำตกห้วยเนียม (อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่)
  • น้ำตกแม่พูล อำเภอลับแล
แหล่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ
ยอดดอย และถ้ำ
  • ยอดดอยภูเมี่ยง (อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่)
  • ถ้ำวัวแดง (วนอุทยานถ้ำจัน)
  • ถ้ำเสือดาว (วนอุทยานถ้ำจัน)
  • ถ้ำเต่า (วนอุทยานถ้ำจัน)
  • ถ้ำเจดีย์ (วนอุทยานถ้ำจัน)
  • ถ้ำจัน (วนอุทยานถ้ำจัน)
สถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน
สถานที่ท่องเที่ยวทางชายแดน



บุคคลสำคัญจากจังหวัดอุตรดิตถ์



ด้านศาสนา



ด้านการเมืองการปกครอง


ด้านศิลปวัฒนธรรม


วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

Prangtip Budphet



ชื่อ นางสาวปรางทิพย์  บุตรเพชร 
นักศึกษาชั่นปีที่ 4  นักศึกษาคณะนิเทศสาตร์  สาขาสื่อสารการตลาด
เกิด 14/07/2535   อายุ 22 ปี 

นิสัย :  เป็นคนเรียบร้อย  พูดน้อย  อ่อนหวาน  น่ารัก แอ๊บแบ๊ว
ทัศนคติ :  ดิฉันมองว่าจริงๆแล้วการเรียนรู้จากประสบการณ์จะช่วยให้สมองพัฒนากระบวนการคิดได้ดีกว่าเรียนรู้ในห้องเรียน

อีกไม่กี่เดือนจะเรียนจบและมุ่งเข้าสู่โหมดทำงาน  รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ออกไปเจอโลกใหม่ๆ 
หวังว่าจะได้ใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมาไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้เป็นอย่างดี