จังหวัดอุตรดิตถ์
จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง ของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ เป็นดินแดนล้านนาตะวันออก ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ [5] ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด [6]
จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนบน โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด
ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท[7] โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาด
ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีสนามบิน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว
สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรล้านนา แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ออกแบบโดย พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) ในปี พ.ศ. 2483 ตามนโยบายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น พระพรหมพิจิตรได้สนองนโยบายที่ให้นำปูชนียวัตถุสถานสำคัญของจังหวัดมาผูกเป็นตรา ท่านจึงได้นำรูปมณฑปประดิษฐานพระแท่นศิลาอาสน์ โบราณสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ มาประกอบผูกเข้าไว้เป็นตราประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ตราที่ผูกขึ้นใหม่นี้เขียนลายเส้นโดย นายอุณห์ เศวตมาลย์ ไม่มีรูปครุฑ, นามจังหวัดและลายกนกประกอบ ต่อมาทางราชการจึงได้เพิ่มรายละเอียดทั้งสามเข้าไว้ในตราจังหวัด ซึ่งตรานี้ยังคงใช้มาจนปัจจุบัน
| ||
คำขวัญประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ |
คำขวัญประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แต่งขึ้นในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยนั้น ได้นำนโยบายนี้เข้าสู่ที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการและมีการคิดประกอบคำขวัญจังหวัดอุตรดิตถ์ขึ้นเป็นตัวอย่าง เพื่อมอบให้วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์กำหนดกรอบแนวคิดการประกวดคำขวัญประจำจังหวัดต่อไป อย่างไรก็ดีคำขวัญที่คิดในที่ประชุมส่วนราชการได้ถูกเผยแพร่อย่างกว้างขวางและเป็นที่รู้จักทั่วไป จึงไม่ได้มีการคิดประกวดคำขวัญใหม่ ทำให้คำขวัญดังกล่าวยังคงใช้เป็นคำขวัญประจำจังหวัดมาจนปัจจุบัน
- ต้นสัก
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
ดอกไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
ดอกประดู่ ดอกไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ในราวปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลเริ่มใช้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกได้มีโครงการ พัฒนาท้องถิ่นหลายรูปแบบส่วนใหญ่เน้นเรื่องเศรษฐกิจในชุมชนเป็นหลักเพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาส่วนหนึ่งจังหวัดจึงมีนโยบายให้หน่วยงานราชการ ทุกแห่งปลูกไม้ประดับและไม้ยืนต้นในพื้นที่ของส่วนราชการทุกแห่งและ เสนอแนะ ให้ ปลูกพันธุ์ไม้ ชื่อกัลปพฤกษ์ และพันธุ์ไม้ประดู่ แต่พันธุ์ไม้ที่ปลูกทั้ง 2มีเพียงดอกประดู่ที่บานสะพรั่ง ทางจังหวัดจึงตั้งให้ดอกประดู่เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
เพลงประจำจังหวัด
เพลงประจำจังหวัดคือ "อุตรดิตถ์เมืองงาม"
สภาพภูมิศาสตร์
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ใต้สุดของภาคเหนือ โดยมีพื้นที่ประมาณ 7,854 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับ 25 ของประเทศ มีจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกัน ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีเขตแนวพรมแดน 120 กิโลเมตร
- ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัย
ภูมิประเทศทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัดส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูง ทิวเขาเหล่านี้ต่อเนื่องมาจากจังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน
สถานที่สำคัญ
- วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ
- วัดพระแท่นศิลาอาสน์
- วัดพระยืนพุทธบาทยุคล
- วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง
- บ่อเหล็กน้ำพี้
พระอารามหลวง
พระพุทธรูปสำคัญในจังหวัดอุตรดิตถ์
- หลวงพ่อเพ็ชร (วัดท่าถนน) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์
- พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี (วัดคุ้งตะเภา)
- หลวงพ่อพุทธรังสี (วัดพระยืนพุทธบาทยุคล)
- หลวงพ่อธรรมจักร (วัดพระแท่นศิลาอาสน์)
- พระเจ้าทันใจ (วัดพระแท่นศิลาอาสน์)
- หลวงพ่อเชียงแสน (วัดธรรมาธิปไตย)
- หลวงพ่อสุวรรณเภตรา (วัดคุ้งตะเภา)
- หลวงพ่อสัมฤทธิ์ (วัดหมอนไม้)
- หลวงพ่อโต (วัดหน้าพระธาตุ อำเภอพิชัย)
- พระฝางทรงเครื่อง (จำลอง) (วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ)
- หลวงพ่อประธานเฒ่า (วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง)
เขื่อน
- เขื่อนสิริกิติ์
- เขื่อนดินช่องเขาขาด
- เขื่อนทดน้ำผาจุก (โครงการของกรมชลประทานปี 2553)
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
|
บุคคลสำคัญจากจังหวัดอุตรดิตถ์
ด้านศาสนา
- สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) พระเกจิมหาเถราจารย์รูปสำคัญของประเทศไทย[26]
ด้านการเมืองการปกครอง
- เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าเรืองธิราช กษัตริย์แห่งโยนกนาคนคร เชียงแสน
- เจ้าพระฝาง
- พระยาพิชัยดาบหัก
- พระศรีพนมมาศ อำมาตย์ตรีเกษตร (ทองอิน แซ่ตัน)
- ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- ปาน พึ่งสุจริต อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- กฤษณา สีหลักษณ์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรีคณะที่ 60 ของไทย)
- ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ด้านศิลปวัฒนธรรม
- สุนทร คมขำ (กล้วย เชิญยิ้ม) ดาราตลก
- ไพโรจน์ ใจสิงห์ นักแสดง และผู้กำกับภาพยนตร์
- อรรณพ ทองบริสุทธิ์ (ปอ) AF คนที่ 7 ของประเทศไทย จากรายการ True Academy Fantasia Season 7
- กัญญารัตน์ พงศ์กัมปนาท (นินิว) รองมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์สปี 2554 และนักแสดงช่อง 7
- สุรวุฑ ไหมกัน (หนุ่ม) นักแสดง และพิธีกร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น