วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเภทของส้มตำ

ประเภททั่วไป


ตำลาว


  • ตำลาว คือส้มตำสูตรดั้งเดิมของชาวลาวและอีสานซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น นิยมใส่ปลาแดกและมะละกอดิบเป็นหลัก บางครั้งเรียกว่า "ตำปาแดก" ที่เรียกว่าตำลาวนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนและแยกกันระหว่างตำลาวกับตำไทย เดิมแล้วเรียกตำลาวว่า "ตำหมากหุ่ง"


ตำปลาร้า



  • ตำปาแดก (ตำปลาร้า) คือส้มตำที่ใส่ปาแดกหรือปลาร้าเป็นหลัก นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสานและประเทศลาว และถือเป็นตำลาวอย่างหนึ่งด้วย คำว่าตำปาแดกหรือตำปลาร้าเกิดขึ้นจากส้มตำของลาวและอีสานขยายสู่ภาคกลางของไทย ผู้รับประทานบางคนมีความรังเกียจปลาร้าเนื่องจากเป็นผู้ไม่รู้จักวัฒนธรรม หรือเห็นว่าเป็นอาหารมีกลิ่นเหม็น ทำให้ผู้ตำนิยมถามผู้รับประทานว่าจะใส่ปลาแดก (ปลาร้า) หรือไม่ คำว่าตำปลาแดกจึงเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามชาวลาวและชาวอีสานถือว่า คนทานส้มตำใส่ปาแดก (ปลาร้า) หรืออาหารที่มีส่วนผสมเป็นปาแดก (ปลาร้า) ได้มักถูกเรียกเป็นการชื่นชมว่า "ลูกลาว" หากลูกหลานชาวลาวและชาวอีสานคนใดไม่รับประทานปาแดก (ปลาร้า) หรือแสดงท่าทีรังเกียจปฏิเสธ มักถูกเรียกในเชิงดูถูกว่า "ลาวลืมซาด (ลาวลืมชาติ)"


ตำปู


  • ตำกะปู (ตำปู) คือส้มตำที่ใส่ปูเค็มหรือปูดองแทนกุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่ว รสชาติออกเค็มนำ บางแห่งนิยมปูดิบ บางแห่งนิยมปูสุก บางแห่งนิยมปูนา หรือปูทะเล


ตำปูปลาร้า



  • ตำปูปลาร้า คือส้มตำที่ใส่ทั้งปูและปลาร้าลงไป


ตำไทย



  • ตำไทย คือส้มตำที่ไม่ใส่ปูและปลาร้า แต่ใส่กุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่วแทน รสชาติออกหวานและเปรี้ยวนำ บางถิ่นอาจใส่ปูดองเค็มด้วย เรียกว่า ส้มตำไทยใส่ปู ตำไทยเกิดจากการที่ชาวสยามบางกลุ่มมีความรังเกียจและดูถูกวัฒนธรรมลาวที่นิยมรับประทานปลาร้า และจากประวัติศาสตร์และวรรณกรรมโบราณชี้ให้เห็นว่า สยามรุกรานลาวจนตกเป็นประเทศราชจึงสร้างวาทกรรมขึ้นมาดูถูกชาวลาวด้วยวัฒนธรรมอาหารการกินเช่น รังเกียจที่คนลาวทานกบ เขียด แย้ กิ้งก่า อึ่งอ่าง แมลง และปลาร้า แต่ความเป็นจริงแล้วในภาคกลางของประเทศไทยนั้น ผลิตปลาร้าเป็นจำนวนมากกว่าภาคอีสานของไทย และชาวลาวกับชาวอีสานต่างแสดงท่าทีดูถูกรังเกียจและไม่พอใจในกรรมวิธีการทำปลาร้าของไทย ไทยนิยมทำปลาร้าจากปลาเลี้ยงด้วยหัวอาหารทำให้ปลามีกลิ่นคาวเนื้อไม่อร่อย และนิยมใส่ข้าวคั่วแทนรำข้าวอย่างชาวลาวและอีสาน ทำให้สีปลาร้าของชาวไทยมีลักษณะคล้ายอุจจาระเน่า ต่างจากชาวลาวและอีสานที่นิยมใส่รำข้าวเหนียวและเกลือแม่น้ำ ส่วนปลาที่ได้ก็มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้สีเนื้อปลาร้าฉีกออกมาเป็นสีแดงงดงาม

ประเภทผสม


ตำซั่ว


  • ตำซั่ว (ตำซว้า, ตำซวั้ว) คือส้มตำที่ใส่ทั้งเส้นเข้าปุ้นหรือเส้นขนมจีนและเส้นมะละกอ ผักดอง น้ำผักดอง ข้าวคั่ว หอย ถั่วงอก นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสาน

ตำมั่ว


  • ตำมั่ว คือตำซั่วที่ใส่เครื่องให้มากขึ้น เช่น กุ้งแห้ง ลูกชิ้น หอมบั่ว (ต้นหอม) หอมเป (ผักชีฝรั่ง) ตลอดจนปลาแห้ง ปลากรอบ หมูยอ หรือหมูหยอง เป็นต้น

ตำป่า



ตำไข่เค็ม


  • ตำไข่เค็ม คือส้มตำที่ใส่เครื่องปรุงผสมระหว่างส้มตำไทยและไข่เค็ม ไม่ใส่ปูดอง ทำให้ส้มตำมีน้ำข้น รสชาติกลมกล่อมพอดี เหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบส้มตำเผ็ดจัด

ตำหมูยอ


  • ตำหมูยอ คือส้มตำที่ใส่หมูยอกับเส้นมะละกอดิบ

ตำปลากรอบ


  • ตำปลากรอบ คือส้มตำที่ใส่ปลารอบรสหวานกับเส้นมะละกอดิบ

ตำปลาแห้ง


  • ตำปลาแห้ง คือส้มตำที่ใส่ปลาแห้งชนิดใดชนิดหนึ่งกับเส้นมะละกอดิบ

ตำหมากหอย

  • ตำหมากหอย (ตำหอย) คือส้มตำที่ใส่หัวหอยเชอรี่ต้มหรือลวกให้สุกกับเส้นมะละกอดิบ

ตำถาด


  • ตำถาด คือส้มตำทั่วไปที่มีต้นกำเนิดมาจากภาคอีสานและประเทศลาว เนื่องจากชาวลาวและชาวอีสานนั้น เมื่อมีการจัดงามมงคลหรืออวมงคลของหมู่บ้าน ตลอดจนงานเทศกาลสำคัญทางศาสนา ประชาชนนิยมทำส้มตำรับประทานกันเป็นหมู่คณะ จึงตำเป็นจำนวนมากๆ แล้วเทใส่ถาด หรือภาชนะขนาดใหญ่ เพื่อจะได้รับประทานกันอย่างทั่วถึงและแสดงความใกล้ชิดกัน ต่อมาชาวอีสานในภาคกลางของประเทศไทยและชาวไทยที่ประกอบอาชีพขายส้มตำบางกลุ่ม จึงนำมาประยุกต์ตามร้านอาหารในเมือง ตำถาดนั้นนิยมใส่ส้มตำไว้กลางถาด และวางเครื่องเคียงอื่นๆ ลงไปให้รายรอบถาด เช่น หมูยอ แหนม ปลากรอบ หอยเชอรี่ หอยแครง ไข่ต้ม ไข่เค็ม ผัดหมี่โคราช เส้นหมี่ลวก เส้นเล็กลวกโรยด้วยกระเทียมเจียว เส้นขนมจีน ถั่วงอก ผักดอง ถั่วฝักยาว กระหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักบุ้งต้น ผักบุ้งซอย ผักลวก เป็นต้น

ตำแคบหมู

  • ตำแคบหมู คือส้มตำที่ใส่แคบหมูลงไป

ตำคอหมูย่าง

  • ตำคอหมูย่าง (ตำหมูตกครก) คือส้มตำที่ใส่คอหมูย่างลงไป

ตำกุ้งเต้น


  • ตำกุ้งเต้น คือส้มตำที่ใส่กุ้งเต้นลงไป แต่ไม่ปรุงรสแบบลาบหรือก้อย

ประเภทเส้น


ตำเส้น


  • ตำเส้น คือส้มตำที่ใส่อาหารจำพวกเส้นลงไป เช่น เส้นเล็ก เส้นใหญ่ วุ้นเส้น เส้นหมี่ เส้นหมี่โคราช เส้นข้าวเปียก (เส้นก๋วยจั๊บญวณ) หรือเส้นเซี่ยงไฮ้ อย่างใดอย่างหนึ่งกับเส้นมะละกอดิบ

ตำเข้าปุ้น



  • ตำเข้าปุ้น (ตำขนมจีน) คือส้มตำที่ใส่เส้นขนมจีนกับเส้นมะละกอดิบ บางครั้งก็ไม่ใส่เส้นมะละกอ

ตำมาม่า


  • ตำมาม่า คือส้มตำที่ใส่บะหมี่กึ่งสำเร็จยี่ห้อต่างๆ เช่น มาม่า ไวไว นำไปลวกน้ำร้อนตำกับเส้นมะละกอดิบ
  • ตำด้องแด้ง (ตำหัวไก่) คือส้มตำลาวที่ใส่เข้าปุ้นหรือเส้นขนมจีนขนาดใหญ่เท่านิ้วก้อย เรียกว่า เส้นหัวไก่ ลงไป เป็นตำที่อร่อย มีเอกลักษณ์ และหารับประทานได้ยากมาก

ประเภทพืชผัก

ตำแตง


  • ตำหมากแตง (ตำแตง) คือส้มตำที่ใส่แตงกวาแทนมะละกอดิบ
ตำแตงไข่เค็ม

  • ตำแตงไข่เค็ม คือส้มตำที่ใส่แตงกวาและไข่เค็มแทนมะละกอดิบ
ตำแตงหมูยอ

  • ตำแตงหมูยอ คือส้มตำที่ใส่แตงกวาและหมูยอแทนมะละกอดิบ
ตำถั่ว

  • ตำหมากถั่ว (ตำถั่ว) คือส้มตำที่ใส่ถั่วฝักยาวแทนมะละกอดิบ
ตำข่า

  • ตำข่า คือส้มตำที่ใส่ลำต้นข่าแทนมะละกอดิบ
ตำข้าวโพด


  • ตำหมากสาลี (ตำข้าวโพด) คือส้มตำที่ใส่ข้าวโพดแทนมะละกอดิบ ไม่เป็นที่นิยมในชาวอีสานและชาวลาว
ตำแครอท

  • ตำแครอท คือส้มตำที่ใส่แครอทดิบเป็นส่วนผสมหลักร่วมกับมะละกอ ถือเป็นส้นตำชนิดใหม่ที่ไม่นิยมทานกันนัก และไม่เป็นที่นิยมสำหรับชาวอีสานและชาวลาว

ประเภทผลไม้


ตำผลไม้


  • ตำหมากไม้ (ตำผลไม้รวม) คือส้มตำที่ใส่ผลไม้หลายๆ ชนิดลงไป เช่น มะละกอ แอปเปิ้ล สับปะรด องุ่น ชมพู่ แตงโม เป็นต้น
ตำมะม่วง

  • ตำหมากม่วง (ตำมะม่วง) คือส้มตำที่ใส่มะม่วงดิบแทนมะละกอดิบ
ตำมะขาม


  • ตำหมากขาม (ตำมะขาม) คือส้มตำที่ใส่มะขามดิบแทนมะละกอดิบ ใส่ได้ทั้งมะขามขนาดเล็กที่ไม่มีเมล็ดและมะขามขนาดใหญ่ที่มีเมล็ดแล้ว แต่เอาเมล็ดออก
ตำกล้วย

  • ตำหมากกล้วย (ตำกล้วย) คือส้มตำที่ใส่กล้วยดิบแทนมะละกอดิบ
ตำกระท้อน

  • ตำหมากต้อง (ตำกระท้อน) คือส้มตำลาวที่ใส่ลูกกระท้อนลงไป ไม่นิยมใส่เส้นมะละกอดิบ
ตำสัปรด

  • ตำหมากนัด (ตำสับปะรด) คือส้มตำที่ใส่สับปะรดสุกแทนมะละกอดิบ

ประเภทประจำท้องถิ่น


ตำโคราช


  • ตำโคราช คือส้มตำที่ใส่เครื่องปรุงผสมระหว่างส้มตำไทยและส้มตำลาว คือใส่ทั้งกุ้งและปลาร้า ปรุงรสให้หวานขึ้น เนื่องจากโคราชหรือนครราชสีมาเป็นเมืองที่อยู่กั้นกลางระหว่างลาวและสยามจึงเกิดการผสมทางวัฒนธรรมสองชาติเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ตำโคราชไม่ได้ถือกำเนิดมาจากจังหวัดนครราชสีมาแต่ประการใด แม้กระทั่งชาวโคราชเองก็ไม่นิยมรับประทานกัน
ตำเวียง

  • ตำเวียง (ตำเวียงจันทน์) คือส้มตำลาวที่มีอิทธิพลมาจากนครเวียงจันทน์ บางกลุ่มนิยมใส่กะปิแทนปาแดก (ปลาร้า) และนิยมใส่เม็ดกระถินลงไปด้วย
ตำเชียงใหม่

  • ตำเซียงใหม่ (ตำเชียงใหม่) คือส้มตำลาวที่ใส่หอยเชอรี่และหอมเป (ผักชีฝรั่ง) ลงไป อย่างไรก็ตาม ตำเชียงใหม่ไม่ได้กำเนิดที่เชียงใหม่ แต่กำเนิดที่อีสาน
ตำพม่า

  • ตำพม่า คือส้มตำของชาวพม่า ในประเทศพม่า
ตำเขมร

  • ตำเขมร คือส้มตำของชาวเขมร ในประเทศกัมพูชา
ตำไทยเหนือ


  • ตำไทเหนือ คือส้มตำลาวที่ชาวไทยทางภาคเหนือหรือชาวล้านนานไปตำรับประทานกัน ทำนองเดียวกับตำไทย แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าส้มตำแพร่เข้ามาในดินแดนทางตอนเหนือของประเทศไทยตั้งแต่สมัยใด ส้มตำของชาวล้านนามักมีรสหวานจัด ไม่เผ็ดมาก และหน้าโรยด้วยถั่วลิสง บางแห่งใส่ปลาร้าดิบเป็นตัว หรือใส่ปลาร้าที่ไม่ปรุงรส ปลาร้าบางแห่งเต็มไปด้วยข้าวคั่วและรำข้าวจนน่าตกใจ ปลาร้าบางแห่งมีรสจืดชืด ไร้กลิ่น ชาวเหนือนิยมใส่มะเขือเทศลูกใหญ่ลงในส้มตำ ทำให้น้ำส้มตำมีรสคาว ในทรรศนะของคนอีสานและคนลาวรวมไปถึงคนไทยภาคกลางนั้นเห็นว่า เป็นส้มตำที่ไม่อร่อย เป็นเหตุให้บ่อยครั้งที่ชาวอีสานไม่นิยมรับประทานส้มตำในร้านอาหารของชาวเหนือ และชาวอีสานหรือชาวไทยภาคกลางบางคนถึงขั้นนำส้มตำที่ซื้อกลับบ้านแล้วนกลับำใส่ถุงเหมือนเดิม แล้วนำมาโยนทิ้งที่หน้าร้านส้มตำของชาวเหนือ เป็นต้น ส้มตำของชาวเหนือมักได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีรสชาติที่แย่ที่สุดในบรรดาส้มตำทุกภูมิภาค
ตำบูดู


  • ตำบูดู คือส้มตำที่ใส่น้ำบูดูของชาวไทยภาคใต้
ตำน้ำปู

  • ตำน้ำปู คือส้มตำที่ใส่น้ำปูของชาวไทยภาคเหนือ

ประเภททะเล

ตำปูม้า











  • ตำปูม้า คือส้มตำของชาวไทยที่ใส่ปูม้าดิบลงไปด้วย
ตำหอยดอง

  • ตำหอยดอง คือส้มตำของชาวไทยที่ใส่หอยดองลงไปด้วย ไม่เป็นที่นิยมในชาวลาวและชาวอีสาน
ตำทะเล

  • ตำทะเล (ตำทะเลรวม) คือส้มตำที่ใส่อาหารทะเลลงไปด้วย เช่น กุ้งสด กุ้งแห้ง ปลาหมึกสด ปลาหมึกแห้ง ลูกชิ้นปลา ปูนึ่ง เป็นต้น
ตำหอยแครง

  • ตำหอยแครง คือส้มตำที่ใส่หอยแครงลวกลงไป
ตำปลาหมึงแห้ง

  • ตำปลาหมึกแห้ง คือส้มตำที่ใส่ปลาหมึกแห้งฉีกหรือสับลงไป
ตำปลาหมึก


  • ตำปลาหมึก (ตำปลาหมึกสด) คือส้มตำที่ใส่ปลาหมึกสดลวกลงไป
ตำกุ้งแห้ง

  • ตำกุ้งแห้ง คือส้มตำที่ใส่กุ้งแห้งลงไป
ตำกุ้งสด

  • ตำกุ้งสด คือส้มตำที่ใส่กุ้งสดลวกลงไป

2 ความคิดเห็น:

  1. เป็นบทความที่ให้ความรู้ดี แต่มีอคติส่วนตัวเยอะไปหน่อยโดยอ้างว่าคนนั้นบอกไม่ชอบไม่นิยม

    ตอบลบ
  2. pgสล็อต สล็อตออนไลน์ เว็บตรง แตกง่าย จุดเริ่มของพวกเรานั้นพวกเราก็จำเป็นต้องขอย้อนไปในช่วงเวลาที่พวกเรานั้นยังปฏิบัติงานประจำอยู่เลย pg slot ช่วยให้ท่านได้สนุกไปกับเรา

    ตอบลบ