วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เครื่องเคียง



เครื่องเคียงทานร่วมกับส้มตำ










คติและมารยาทในการทานส้มตำ

ตคิและมารยาทในการทานส้มตำ


  • หลังการตำเสร็จแม่ค้ามักตักเส้นส้มตำแต่พอน้อยให้ผู้ซื้อชิม หากรสชาติไม่หนักพอจะปรุงเพิ่มอีกรอบ
  • การปรุงเพิ่มจะปรุงในครกเท่านั้น ไม่ปรุงบนจานหรือในถุง หากปรุงในจานหรือถุงมักถูกตำหนิว่า "ขะลำ" คือกระทำผิดธรรมเนียมโบราณ หรือทำ "ผิดสูตร"
  • คนรับประทานส้มตำใส่ปลาร้าดิบหรือปลาร้าเป็นตัวมักถูกมองว่าเป็นคนบ้านนอก คนในเมืองมักรับประทานปลาร้ากรองต้มสุกปรุงด้วยน้ำตาล แป้งนัว น้ำกระเทียมดอง และใบหมากเขียบ (ใบน้อยหน่า)
  • การชิมน้ำส้มตำจากทัพพีถือว่าเป็นกิริยาน่าเกลียด ต้องชิมจากช้อนต่างหาก
  • การชิมเส้นส้มตำจากทัพพีต้องใช้มือจับหากชิมโดยตรงจากทัพพีถือว่าเป็นกิริยาที่น่าเกลียดมาก
  • น้ำปลาร้าที่มีสีดำและส่งกลิ่นรุนแรงมากๆ มักถูกนำมาเปรียบเทียบกับ "อุจจาระ" หรือ "ขี้"
  • การรับประทานส้มตำห้ามรับประทานในครก ห้ามเลียสาก ห้ามทานซ้อนช้อน ห้ามทานซ้อนจาน ห้ามทานใส่ถ้วย และห้ามทานซ้อนถาด
  • คนทานส้มตำรสหวานมักถูกมองว่าเป็นเด็ก
  • คนทานส้มตำรสเผ็ดมักถูกมองว่าเป็นไปตามธรรมเนียมนิยมของคอส้มตำ
  • คนทานส้มตำกับข้าวสวยมักถูกแซวจากคนรอบข้าง แต่ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง
  • การใช้ข้าวเหนียวจ้ำในน้ำส้มตำรับประทานบ่อยๆ แปลว่าส้มตำนั้น "แซบหลาย" หรืออร่อยมาก
  • การใช้ช้อนซดน้ำส้มตำมักถูกมองว่า "ซดน้ำแป้งนัว" หมายถึงการรับประทานน้ำของผงชูรส"
  • ส้มตำที่ทิ้งไว้ไม่นานจากการรับประทานครั้งแรกเรียกว่า "เงื่อน" จะทำให้มีรสชาติให้น่ารับประทาน เรียกว่า "โอ่"
  • แม่ค้าที่ปรุงส้มตำใม่ถูกใจลูกค้ามากเกิน ๓ ครั้ง ถือว่า "มืออ่อน" สมควรเปลี่ยนอาชีพใหม่
  • หากตำส้มตำเบาเกินไปจนสากหลุดมือหรือทัพพีหลุดมือ เรียกว่า "ตีนอ่อนมือแพน" หาสามีได้ยาก
  • การตำพริกกระเทียมต้องตำพอบุบ หากตำละเอียดเกินไปมักถูกคนในบ้านไล่ให้ไปตำแจ่ว (ตำน้ำพริก) จะดีกว่า
  • ในชนบทของอีสานและลาวถือว่าร้านค้าส้มตำประจำหมู่บ้านเป็นศูนย์รวมทางวัฒนธรรมการกินอย่างหนึ่ง
  • ในงานเลี้ยงสังสรรค์และงานมงคลต่างๆ ของชาวอีสาน ทั้งในหรือนอกสถานที่หากขาดส้มตำไปจะถือว่า "ไม่ครบสูตร" หรือผิดธรรมเนียมนิยม
  • ชาวอีสานหรือชาวลาวที่ไม่รับประทานส้มตำมักถูกมองจากสังคมด้วยสำนวนว่า "ดัดจริตหีบิดหีเบี้ยว" หรือ "กระแดะ" และมักถูกตำหนิอย่างรุนแรงว่าเป็นพวก "ลาวลืมชาติ"
  • การรับประทานส้มตำที่เผ็ดเกินไป มักนิยมรับประทานเกลือมากกว่าน้ำตาลเพื่อแก้เผ็ด
  • ส้มตำสามารถรับประทานได้ทั้งมือเปล่า บ่วง (ช้อนกลาง) และช้อนส้อม แต่ไม่นิยมตะเกียบ
  • การรับประทานส้มตำนั้นห้าม "ควัดหาต่อน" หรือ "เขี่ยหาต่อน" เพราะถือเป็นกิริยาน่ารังเกียจ
  • การรับประทานส้มตำกับก๊วยเตี๋ยวหรือเกาเหลาเป็นที่นิยมอย่างหนึ่งในชาวลาวและอีสาน
  • คำว่า ตำหมากหุ่ง มักถูกนำมาใช้เปลี่ยนเป็นสำนวนใหม่ว่า "ตำตีน" สำหรับเสียดสีคนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ คนเช่นนั้นมักจะถูกถามเชิงเสียดสีว่า ทาน "ตำตีน" ไหม ?
  • ครกส้มตำมักถูกนำมาอุปมากับอวัยวะเพศหญิง สากส้มตำมักถูกนำมาอุปมากับอวัยวะเพศชาย
  • ร้านค้าส้มตำมักบูชาสากขนาดต่างๆ กัน และบูชาปลัดขิกขนาดใหญ่วางไว้หน้าร้าน พร้อมกับผูกผ้า ๗ สี ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลก
  • การตำส้มตำห้ามใช้ครกหินตำ ต้องใช้ครกไม้ตำเท่านั้น และครกไม้แต่ละชนิดเชื่อว่าจะให้รสชาติแก่ส้มตำที่ต่างกัน
  • ในสายตาคนทั่วไปมักมองว่า แม่ค้าส้มตำมักปากจัดและมีลีลาทางเพศที่เร่าร้อนกว่าสตรีธรรมดา
  • แม่ค้าส้มตำที่มีไฝหรือขี้แมลงวันเม็ดใหญ่บนใบหน้า แต่งหน้าจัดหรือทาปากสีแดงแจ่ม พร้อมทั้งใส่สร้อยทองเส้นใหญ่ มักถูกประเมินว่าเป็นแม่ค้าที่ตำส้มตำอร่อยและมีรสชาติจัดจ้าน
  • ในสายตาคนทั่วไปมักมองว่า เกย์หรือสาวประเภทสองนิยมประกอบอาชีพตำส้มตำมากกว่าชายแท้
  • แม้ค้าส้มตำที่ตำไปด้วยเต้นไปด้วย หรือตำไปด้วยหมุนสากหรือเหวี่ยงสากไปด้วย มักถูกมองว่า "ไม่ธรรมดา" ทั้งๆ ที่กิริยาเช่นนี้ใครๆ ก็ทำได้ เพียงแต่คนส่วนใหญ่ไม่นิยมทำ
  • เส้นมะละกอที่นำมาทำส้มตำมักถูกมองว่า "เส้นสับ" อร่อยและมีอรรถรสมากกว่า "เส้นขูด" เนื่องจากเส้นขูดมักไม่กรอบและมีเส้นยาวอ่อนปวกเปียกเคี้ยวไม่อร่อย
  • การทำเส้นมะละกอขูดมักถูกมองว่าเป็นคนขี้เกียจมักง่าย
  • คำว่า "นัว" เป็นคำที่นิยมใช้ในรสชาติของส้มตำ และคำว่า นัว ยังใช้กับรสชาติของปาแดก (ปลาร้า) และรสของแป้งนัว (ผงชูรส) ด้วย
  • การพูดจาดูถูก ปฏิเสธ รังเกียจ หรือการทำท่าทางปิดจมูกเวลาได้กลิ่นส้มตำถือเป็นอาการเสียมารยาทอย่างยิ่ง ไม่ควรกระทำต่อหน้าธารกำนันเด็ดขาด

กินส้มตำอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด

กินส้มตำอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด




 “ส้มตำ ยังเป็นอาหารรสชาติจัดจ้าน ยอดนิยมของคนไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันไม่เสื่อมคลาย หาใช่เพียงรสชาติที่แซ่บ ถึงอกถึงใจเท่านั้น ส้มตำถือเป็นอาหารเพื่อสุขภาพเมนูหนึ่งที่มีไขมันและให้พลังงานต่ำ แต่มีใยอาหารและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง หากแต่ต้องปรุงรสชาติให้พอเหมาะพอควร”
          อ. แววตา เอกชาวนา นักโภชนาการบำบัดและผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ บอกเล่าอย่างน่าสนใจ
/data/content/24881/cms/e_bjmquvx12459.jpg‘ส้มตำ’ โภชนาการรสแซ่บ
          ” อ. แววตา อธิบายเพิ่มเติมว่า ส้มตำหนึ่งจานมีส่วนผสมของผัก สมุนไพร ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น มะละกอ กระเทียม มะเขือเทศ พริกขี้หนู ถั่วฝักยาว ฯลฯ ซึ่งมีสรรพคุณทางยา ที่ช่วยสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และชะลอวัยด้วย แม้ว่าส้มตำจะมีรสชาติ เปรี้ยว หวาน และเค็ม อร่อยถูกปากคนไทย แต่การบริโภคส้มตำเพียงอย่างเดียว ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน จึงต้องกินอาหารอื่นๆ ควบคู่ไปด้วยคือ ข้าวเหนียว ขนมจีน ไก่ย่าง หมูย่าง หรือลาบต่างๆ ซึ่งมีสารอาหารครบถ้วน ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน  
 ส้มตำเป็นอาหารสด ไม่ผ่านความร้อน (Low Food) เรื่องความสะอาดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง หากไม่สะอาด มีการปนเปื้อน อาจทำให้ท้องเสียได้ ส่วนเครื่องปรุงต่างๆ ต้องสังเกตเชื้อราที่อาจปะปนอย่าง ‘อะฟลาทอกซิน’ ซึ่งมักจะมีอยู่ในถั่วลิสง กุ้งแห้ง กระเทียม ซึ่งเชื้อชนิดนี้เป็นโทษร้ายแรงต่อตับ การเลือกรับประทานควรสังเกตความสะอาดด้านสุขาภิบาลของร้านค้าด้วย ส่วนปลาร้าเป็นอาหารที่มีแคลเซียมสูง  แต่หลายคนมักสงสัยว่า จะกินปลาร้าสุกหรือดิบดี ถ้าหากเลือกได้ไม่ว่าจะเป็นปลาร้า หรือปูเค็ม ควรจะกินแบบสุกดีกว่า และควรสังเกตความสะอาดของปูและภาชนะที่บรรจุด้วย

/data/content/24881/cms/e_bcehloprsxy4.jpg
ส้มตำกินบ่อยๆ ดีหรือไม่’
          แน่นอนว่า ส้มตำไม่ใช่อาหารที่ดีที่สุดในโลก ดังนั้น ไม่ควรรับประทานบ่อยมากจนเกินไป ควรสลับสับเปลี่ยนกับอาหารประเภทอื่นๆ บ้าง ควรกินประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือหากส้มตำมีส่วนผสมของปูดองเค็ม หรือปลาร้า ก็กินได้อาทิตย์ละครั้ง ถ้ามากกว่านั้น ควรเป็นแบบสุกจะดีกว่า
          สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่าง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคไต อ. แววตา แนะนำว่า สามารถกินได้ แต่ไม่ควรบ่อยนัก เนื่องจากส้มตำมีโซเดียมสูง หรือกินได้โดยไม่ปรุงรสด้วยน้ำตาล หรือใส่ในปริมาณน้อย และไม่ควรปรุงรสให้เค็ม สิ่งสำคัญที่สุดคือ ห้ามใส่ผงชูรส เพราะเป็นเครื่องปรุงที่มีโซเดียมสูงมากนั่นเอง
          นอกจากนี้ อ. แววตา ยังแนะนำอีกว่า ก่อนกินส้มตำทุกครั้ง ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่าง ควรกินข้าวเหนียว ไก่ย่าง หรืออาหารอื่นๆ รองท้อง ก่อนกินส้มตำทุกครั้งเนื่องจาก มะละกอจะมียาง ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำให้เนื้อสัตว์เปื่อยนุ่มได้ หากกินขณะท้องว่างจะทำให้ปวดท้อง เนื่องจากยางมะละกอส่งผลต่อกระบวนการย่อยกัดเยื่อบุกระเพาะอาหารได้ และอีกหนึ่งข้อแนะนำสำคัญคือ ควรสอนเด็กๆ หากกินส้มตำ ควรเคี้ยวให้ละเอียดเพื่อให้ย่อยอาหารง่ายขึ้น เพราะมะละกอค่อนข้างย่อยยาก


‘ส้มตำถาด เมนูสุดฮิต’      
          “สำหรับส้มตำถาด ซึ่งกำลังเป็นที่พูดถึงอยู่ในขณะนี้ นับว่าเป็นเมนูที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะนอกจากส้มตำแล้ว ยังมีส่วนประกอบที่เป็นเครื่องเคียงทำให้ได้สารอาหารครบถ้วน ทั้งคาร์โบไฮเดรตจาก ขนมจีนหรือเส้นหมี่ โปรตีนจาก ไข่ต้ม หมูหรือปลาทอดกรอบ วิตามินและเกลือแร่จาก ผักสดอย่าง ถั่วงอก ผักบุ้ง หรือผักต้มชนิดต่างๆ หากมีกระบวนการทำที่สะอาดและสุขาภิบาลที่ดี ก็ไม่เป็นอันตราย” อ. แววตา ชี้แจง
          อ. แววตา บอกเพิ่มเติมว่า สำหรับถาดที่มีสีสัน ลวดลายต่างๆ แน่นอนว่าเป็นอันตราย เนื่องจากมีส่วนประกอบของสารตะกั่ว แคดเมียม ที่เป็นโลหะหนัก เมื่อโดนกรดรสเปรี้ยวจาก มะนาว ส้ม มะขาม ที่มีอยู่ในส้มตำ จะกัดกร่อนถาดทำให้เกิดสนิม และเจือปนในอาหาร เมื่อเกิดการสะสมในระยะยาว จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ส่งผลต่อตับ และไต
          เพียงแค่เปลี่ยนวิธีการใหม่ บางร้านค้าที่มีถาดเหล่านี้จำนวนมาก อาจเปลี่ยนเป็นใช้จานเซรามิก วางลงบนถาดอีกที หรือทางที่ดีจะเปลี่ยนเป็นถาดสแตนเลส จานกระเบื้อง หรือแก้ว ก็ได้ เพราะไม่เป็นอันตรายเหมือนถาดอะลูมิเนียม
          หากเราหันมาใส่ใจการกินเพิ่มขึ้นสักนิด เพียงแค่นี้ ก็สามารถกินส้มตำ ให้แซ่บและได้ประโยชน์ไปพร้อมกัน






ขอบคุณที่มาจาก   http://www.thaihealth.or.th/Content/24881-‘ส้มตำ’+กินอย่างไรให้+‘แซ่บและได้ประโยชน์’.html

                             http://www.techmoblog.com/thai-papaya-salad-with-galvanized-iron-tray-not-safe-to-eat/

วิธีตำส้มตำ


ขั้นตอนการตำ



ขั้นที่ 1  เตรียมเครื่องปรุงและอุปกรณ์


ขั้นที่ 2 โครกพริกกับกระเทียมเข้าด้วยกับแบบหยาบๆ แล้วใส้ถั่วฝักยาวกับมะเขือเทศ




ขั้นที่ 3 ปรุงรส

ขั้นที่ 4 ใส่มะละกอ ตำเบา ๆ ให้รสชาติเข้าเส้นมะละกอ ใส่กุ้งแห้ง ถั่วลิสง ตำพอเข้ากัน ตักใส่จาน รับประทานกับผักสดต่าง ๆ เช่น ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ผักบุ้งไทย










เพลงส้มตำ




เพลงพระราชนิพนธ์ ส้มตำ เป็นเพลงลูกทุ่ง พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บรรเลงครั้งแรกโดยวง อ.ส. วันศุกร์ โดยทรงขับร้องด้วยพระองค์เอง 

ต่อมามีผู้ขอพระราชทานนำเพลงนี้ไปประกอบภาพยนตร์ เรื่อง ส้มตำ (พ.ศ. 2516 และ 2551) ขับร้องโดยบุปผา สายชล และนำไปขับร้องโดยพุ่มพวง ดวงจันทร์ ในงาน กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 และขับร้องบันทึกเสียงโดยสุนารี ราชสีมา




ส่วนประกอบในการตำส้มตำ






ส่วนประกอบในการตำส้มตำ


ส่วนประกอบอาหาร

เครื่องปรุง


วัตถุดิบ
น้ำหนัก (กรัม)        
สูตรตวง
    ปริมาณ
1
มะละกอดิบ
140
1 ถ้วยตวง

2
พริกขี้หนูสด
10
1 ช้อนโต๊ะ
     5 เม็ด
3
กระเทียม
12
1 ช้อนโต๊ะ

4
ถั่วฝักยาว
40
1/2 ถ้วยตวง
     2 ฝัก
5
มะเขือเทศลูกเล็ก (ผ่าครึ่ง)
70
1/2 ถ้วยตวง
     4 ลูก
6
น้ำปลา
12
1 ช้อนโต๊ะ

7
น้ำตาลปี๊บ
18
1 ช้อนโต๊ะ

8
น้ำมะนาว
48
1/4 ถ้วยตวง
     1 ลูก
9
กุ้งแห้ง
15
1 ช้อนโต๊ะ

10
ถั่วลิสงคั่ว
11
1 ช้อนโต๊ะ











อุปกรณ์การเตรียม
  • มีด
  • เขียง
  • กระทะ
  • ตะหลิว
  • ถ้วยตวง
  • ช้อนตวง
  • เครื่องชั่ง
  • ถ้วยตวงของเหลว
  • กะละมัง
  • จาน
อุปกรณ์ประกอบ
  • ครก
  • ช้อนชิม
      อุปกรณ์จัดแต่ง/รับประทาน
  •  จาน
  • ผักชนิดต่างๆ
อุปกรณ์บริการ
  • จาน

ประเภทของส้มตำ

ประเภททั่วไป


ตำลาว


  • ตำลาว คือส้มตำสูตรดั้งเดิมของชาวลาวและอีสานซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น นิยมใส่ปลาแดกและมะละกอดิบเป็นหลัก บางครั้งเรียกว่า "ตำปาแดก" ที่เรียกว่าตำลาวนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนและแยกกันระหว่างตำลาวกับตำไทย เดิมแล้วเรียกตำลาวว่า "ตำหมากหุ่ง"


ตำปลาร้า



  • ตำปาแดก (ตำปลาร้า) คือส้มตำที่ใส่ปาแดกหรือปลาร้าเป็นหลัก นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสานและประเทศลาว และถือเป็นตำลาวอย่างหนึ่งด้วย คำว่าตำปาแดกหรือตำปลาร้าเกิดขึ้นจากส้มตำของลาวและอีสานขยายสู่ภาคกลางของไทย ผู้รับประทานบางคนมีความรังเกียจปลาร้าเนื่องจากเป็นผู้ไม่รู้จักวัฒนธรรม หรือเห็นว่าเป็นอาหารมีกลิ่นเหม็น ทำให้ผู้ตำนิยมถามผู้รับประทานว่าจะใส่ปลาแดก (ปลาร้า) หรือไม่ คำว่าตำปลาแดกจึงเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามชาวลาวและชาวอีสานถือว่า คนทานส้มตำใส่ปาแดก (ปลาร้า) หรืออาหารที่มีส่วนผสมเป็นปาแดก (ปลาร้า) ได้มักถูกเรียกเป็นการชื่นชมว่า "ลูกลาว" หากลูกหลานชาวลาวและชาวอีสานคนใดไม่รับประทานปาแดก (ปลาร้า) หรือแสดงท่าทีรังเกียจปฏิเสธ มักถูกเรียกในเชิงดูถูกว่า "ลาวลืมซาด (ลาวลืมชาติ)"


ตำปู


  • ตำกะปู (ตำปู) คือส้มตำที่ใส่ปูเค็มหรือปูดองแทนกุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่ว รสชาติออกเค็มนำ บางแห่งนิยมปูดิบ บางแห่งนิยมปูสุก บางแห่งนิยมปูนา หรือปูทะเล


ตำปูปลาร้า



  • ตำปูปลาร้า คือส้มตำที่ใส่ทั้งปูและปลาร้าลงไป


ตำไทย



  • ตำไทย คือส้มตำที่ไม่ใส่ปูและปลาร้า แต่ใส่กุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่วแทน รสชาติออกหวานและเปรี้ยวนำ บางถิ่นอาจใส่ปูดองเค็มด้วย เรียกว่า ส้มตำไทยใส่ปู ตำไทยเกิดจากการที่ชาวสยามบางกลุ่มมีความรังเกียจและดูถูกวัฒนธรรมลาวที่นิยมรับประทานปลาร้า และจากประวัติศาสตร์และวรรณกรรมโบราณชี้ให้เห็นว่า สยามรุกรานลาวจนตกเป็นประเทศราชจึงสร้างวาทกรรมขึ้นมาดูถูกชาวลาวด้วยวัฒนธรรมอาหารการกินเช่น รังเกียจที่คนลาวทานกบ เขียด แย้ กิ้งก่า อึ่งอ่าง แมลง และปลาร้า แต่ความเป็นจริงแล้วในภาคกลางของประเทศไทยนั้น ผลิตปลาร้าเป็นจำนวนมากกว่าภาคอีสานของไทย และชาวลาวกับชาวอีสานต่างแสดงท่าทีดูถูกรังเกียจและไม่พอใจในกรรมวิธีการทำปลาร้าของไทย ไทยนิยมทำปลาร้าจากปลาเลี้ยงด้วยหัวอาหารทำให้ปลามีกลิ่นคาวเนื้อไม่อร่อย และนิยมใส่ข้าวคั่วแทนรำข้าวอย่างชาวลาวและอีสาน ทำให้สีปลาร้าของชาวไทยมีลักษณะคล้ายอุจจาระเน่า ต่างจากชาวลาวและอีสานที่นิยมใส่รำข้าวเหนียวและเกลือแม่น้ำ ส่วนปลาที่ได้ก็มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้สีเนื้อปลาร้าฉีกออกมาเป็นสีแดงงดงาม

ประเภทผสม


ตำซั่ว


  • ตำซั่ว (ตำซว้า, ตำซวั้ว) คือส้มตำที่ใส่ทั้งเส้นเข้าปุ้นหรือเส้นขนมจีนและเส้นมะละกอ ผักดอง น้ำผักดอง ข้าวคั่ว หอย ถั่วงอก นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสาน

ตำมั่ว


  • ตำมั่ว คือตำซั่วที่ใส่เครื่องให้มากขึ้น เช่น กุ้งแห้ง ลูกชิ้น หอมบั่ว (ต้นหอม) หอมเป (ผักชีฝรั่ง) ตลอดจนปลาแห้ง ปลากรอบ หมูยอ หรือหมูหยอง เป็นต้น

ตำป่า



ตำไข่เค็ม


  • ตำไข่เค็ม คือส้มตำที่ใส่เครื่องปรุงผสมระหว่างส้มตำไทยและไข่เค็ม ไม่ใส่ปูดอง ทำให้ส้มตำมีน้ำข้น รสชาติกลมกล่อมพอดี เหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบส้มตำเผ็ดจัด

ตำหมูยอ


  • ตำหมูยอ คือส้มตำที่ใส่หมูยอกับเส้นมะละกอดิบ

ตำปลากรอบ


  • ตำปลากรอบ คือส้มตำที่ใส่ปลารอบรสหวานกับเส้นมะละกอดิบ

ตำปลาแห้ง


  • ตำปลาแห้ง คือส้มตำที่ใส่ปลาแห้งชนิดใดชนิดหนึ่งกับเส้นมะละกอดิบ

ตำหมากหอย

  • ตำหมากหอย (ตำหอย) คือส้มตำที่ใส่หัวหอยเชอรี่ต้มหรือลวกให้สุกกับเส้นมะละกอดิบ

ตำถาด


  • ตำถาด คือส้มตำทั่วไปที่มีต้นกำเนิดมาจากภาคอีสานและประเทศลาว เนื่องจากชาวลาวและชาวอีสานนั้น เมื่อมีการจัดงามมงคลหรืออวมงคลของหมู่บ้าน ตลอดจนงานเทศกาลสำคัญทางศาสนา ประชาชนนิยมทำส้มตำรับประทานกันเป็นหมู่คณะ จึงตำเป็นจำนวนมากๆ แล้วเทใส่ถาด หรือภาชนะขนาดใหญ่ เพื่อจะได้รับประทานกันอย่างทั่วถึงและแสดงความใกล้ชิดกัน ต่อมาชาวอีสานในภาคกลางของประเทศไทยและชาวไทยที่ประกอบอาชีพขายส้มตำบางกลุ่ม จึงนำมาประยุกต์ตามร้านอาหารในเมือง ตำถาดนั้นนิยมใส่ส้มตำไว้กลางถาด และวางเครื่องเคียงอื่นๆ ลงไปให้รายรอบถาด เช่น หมูยอ แหนม ปลากรอบ หอยเชอรี่ หอยแครง ไข่ต้ม ไข่เค็ม ผัดหมี่โคราช เส้นหมี่ลวก เส้นเล็กลวกโรยด้วยกระเทียมเจียว เส้นขนมจีน ถั่วงอก ผักดอง ถั่วฝักยาว กระหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักบุ้งต้น ผักบุ้งซอย ผักลวก เป็นต้น

ตำแคบหมู

  • ตำแคบหมู คือส้มตำที่ใส่แคบหมูลงไป

ตำคอหมูย่าง

  • ตำคอหมูย่าง (ตำหมูตกครก) คือส้มตำที่ใส่คอหมูย่างลงไป

ตำกุ้งเต้น


  • ตำกุ้งเต้น คือส้มตำที่ใส่กุ้งเต้นลงไป แต่ไม่ปรุงรสแบบลาบหรือก้อย

ประเภทเส้น


ตำเส้น


  • ตำเส้น คือส้มตำที่ใส่อาหารจำพวกเส้นลงไป เช่น เส้นเล็ก เส้นใหญ่ วุ้นเส้น เส้นหมี่ เส้นหมี่โคราช เส้นข้าวเปียก (เส้นก๋วยจั๊บญวณ) หรือเส้นเซี่ยงไฮ้ อย่างใดอย่างหนึ่งกับเส้นมะละกอดิบ

ตำเข้าปุ้น



  • ตำเข้าปุ้น (ตำขนมจีน) คือส้มตำที่ใส่เส้นขนมจีนกับเส้นมะละกอดิบ บางครั้งก็ไม่ใส่เส้นมะละกอ

ตำมาม่า


  • ตำมาม่า คือส้มตำที่ใส่บะหมี่กึ่งสำเร็จยี่ห้อต่างๆ เช่น มาม่า ไวไว นำไปลวกน้ำร้อนตำกับเส้นมะละกอดิบ
  • ตำด้องแด้ง (ตำหัวไก่) คือส้มตำลาวที่ใส่เข้าปุ้นหรือเส้นขนมจีนขนาดใหญ่เท่านิ้วก้อย เรียกว่า เส้นหัวไก่ ลงไป เป็นตำที่อร่อย มีเอกลักษณ์ และหารับประทานได้ยากมาก

ประเภทพืชผัก

ตำแตง


  • ตำหมากแตง (ตำแตง) คือส้มตำที่ใส่แตงกวาแทนมะละกอดิบ
ตำแตงไข่เค็ม

  • ตำแตงไข่เค็ม คือส้มตำที่ใส่แตงกวาและไข่เค็มแทนมะละกอดิบ
ตำแตงหมูยอ

  • ตำแตงหมูยอ คือส้มตำที่ใส่แตงกวาและหมูยอแทนมะละกอดิบ
ตำถั่ว

  • ตำหมากถั่ว (ตำถั่ว) คือส้มตำที่ใส่ถั่วฝักยาวแทนมะละกอดิบ
ตำข่า

  • ตำข่า คือส้มตำที่ใส่ลำต้นข่าแทนมะละกอดิบ
ตำข้าวโพด


  • ตำหมากสาลี (ตำข้าวโพด) คือส้มตำที่ใส่ข้าวโพดแทนมะละกอดิบ ไม่เป็นที่นิยมในชาวอีสานและชาวลาว
ตำแครอท

  • ตำแครอท คือส้มตำที่ใส่แครอทดิบเป็นส่วนผสมหลักร่วมกับมะละกอ ถือเป็นส้นตำชนิดใหม่ที่ไม่นิยมทานกันนัก และไม่เป็นที่นิยมสำหรับชาวอีสานและชาวลาว

ประเภทผลไม้


ตำผลไม้


  • ตำหมากไม้ (ตำผลไม้รวม) คือส้มตำที่ใส่ผลไม้หลายๆ ชนิดลงไป เช่น มะละกอ แอปเปิ้ล สับปะรด องุ่น ชมพู่ แตงโม เป็นต้น
ตำมะม่วง

  • ตำหมากม่วง (ตำมะม่วง) คือส้มตำที่ใส่มะม่วงดิบแทนมะละกอดิบ
ตำมะขาม


  • ตำหมากขาม (ตำมะขาม) คือส้มตำที่ใส่มะขามดิบแทนมะละกอดิบ ใส่ได้ทั้งมะขามขนาดเล็กที่ไม่มีเมล็ดและมะขามขนาดใหญ่ที่มีเมล็ดแล้ว แต่เอาเมล็ดออก
ตำกล้วย

  • ตำหมากกล้วย (ตำกล้วย) คือส้มตำที่ใส่กล้วยดิบแทนมะละกอดิบ
ตำกระท้อน

  • ตำหมากต้อง (ตำกระท้อน) คือส้มตำลาวที่ใส่ลูกกระท้อนลงไป ไม่นิยมใส่เส้นมะละกอดิบ
ตำสัปรด

  • ตำหมากนัด (ตำสับปะรด) คือส้มตำที่ใส่สับปะรดสุกแทนมะละกอดิบ

ประเภทประจำท้องถิ่น


ตำโคราช


  • ตำโคราช คือส้มตำที่ใส่เครื่องปรุงผสมระหว่างส้มตำไทยและส้มตำลาว คือใส่ทั้งกุ้งและปลาร้า ปรุงรสให้หวานขึ้น เนื่องจากโคราชหรือนครราชสีมาเป็นเมืองที่อยู่กั้นกลางระหว่างลาวและสยามจึงเกิดการผสมทางวัฒนธรรมสองชาติเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ตำโคราชไม่ได้ถือกำเนิดมาจากจังหวัดนครราชสีมาแต่ประการใด แม้กระทั่งชาวโคราชเองก็ไม่นิยมรับประทานกัน
ตำเวียง

  • ตำเวียง (ตำเวียงจันทน์) คือส้มตำลาวที่มีอิทธิพลมาจากนครเวียงจันทน์ บางกลุ่มนิยมใส่กะปิแทนปาแดก (ปลาร้า) และนิยมใส่เม็ดกระถินลงไปด้วย
ตำเชียงใหม่

  • ตำเซียงใหม่ (ตำเชียงใหม่) คือส้มตำลาวที่ใส่หอยเชอรี่และหอมเป (ผักชีฝรั่ง) ลงไป อย่างไรก็ตาม ตำเชียงใหม่ไม่ได้กำเนิดที่เชียงใหม่ แต่กำเนิดที่อีสาน
ตำพม่า

  • ตำพม่า คือส้มตำของชาวพม่า ในประเทศพม่า
ตำเขมร

  • ตำเขมร คือส้มตำของชาวเขมร ในประเทศกัมพูชา
ตำไทยเหนือ


  • ตำไทเหนือ คือส้มตำลาวที่ชาวไทยทางภาคเหนือหรือชาวล้านนานไปตำรับประทานกัน ทำนองเดียวกับตำไทย แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าส้มตำแพร่เข้ามาในดินแดนทางตอนเหนือของประเทศไทยตั้งแต่สมัยใด ส้มตำของชาวล้านนามักมีรสหวานจัด ไม่เผ็ดมาก และหน้าโรยด้วยถั่วลิสง บางแห่งใส่ปลาร้าดิบเป็นตัว หรือใส่ปลาร้าที่ไม่ปรุงรส ปลาร้าบางแห่งเต็มไปด้วยข้าวคั่วและรำข้าวจนน่าตกใจ ปลาร้าบางแห่งมีรสจืดชืด ไร้กลิ่น ชาวเหนือนิยมใส่มะเขือเทศลูกใหญ่ลงในส้มตำ ทำให้น้ำส้มตำมีรสคาว ในทรรศนะของคนอีสานและคนลาวรวมไปถึงคนไทยภาคกลางนั้นเห็นว่า เป็นส้มตำที่ไม่อร่อย เป็นเหตุให้บ่อยครั้งที่ชาวอีสานไม่นิยมรับประทานส้มตำในร้านอาหารของชาวเหนือ และชาวอีสานหรือชาวไทยภาคกลางบางคนถึงขั้นนำส้มตำที่ซื้อกลับบ้านแล้วนกลับำใส่ถุงเหมือนเดิม แล้วนำมาโยนทิ้งที่หน้าร้านส้มตำของชาวเหนือ เป็นต้น ส้มตำของชาวเหนือมักได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีรสชาติที่แย่ที่สุดในบรรดาส้มตำทุกภูมิภาค
ตำบูดู


  • ตำบูดู คือส้มตำที่ใส่น้ำบูดูของชาวไทยภาคใต้
ตำน้ำปู

  • ตำน้ำปู คือส้มตำที่ใส่น้ำปูของชาวไทยภาคเหนือ

ประเภททะเล

ตำปูม้า











  • ตำปูม้า คือส้มตำของชาวไทยที่ใส่ปูม้าดิบลงไปด้วย
ตำหอยดอง

  • ตำหอยดอง คือส้มตำของชาวไทยที่ใส่หอยดองลงไปด้วย ไม่เป็นที่นิยมในชาวลาวและชาวอีสาน
ตำทะเล

  • ตำทะเล (ตำทะเลรวม) คือส้มตำที่ใส่อาหารทะเลลงไปด้วย เช่น กุ้งสด กุ้งแห้ง ปลาหมึกสด ปลาหมึกแห้ง ลูกชิ้นปลา ปูนึ่ง เป็นต้น
ตำหอยแครง

  • ตำหอยแครง คือส้มตำที่ใส่หอยแครงลวกลงไป
ตำปลาหมึงแห้ง

  • ตำปลาหมึกแห้ง คือส้มตำที่ใส่ปลาหมึกแห้งฉีกหรือสับลงไป
ตำปลาหมึก


  • ตำปลาหมึก (ตำปลาหมึกสด) คือส้มตำที่ใส่ปลาหมึกสดลวกลงไป
ตำกุ้งแห้ง

  • ตำกุ้งแห้ง คือส้มตำที่ใส่กุ้งแห้งลงไป
ตำกุ้งสด

  • ตำกุ้งสด คือส้มตำที่ใส่กุ้งสดลวกลงไป